ReadyPlanet.com
dot
dot
จำนวน : 0 ชิ้น
ราคา : 0.00
bullet ดูสินค้า
bullet ชำระเงิน




โรคพาร์กินสัน Parkinson Disease

 

โรคพาร์กินสัน Parkinson เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียกว่าโรคสั่นสันนิบาต โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก

โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง เซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไปมากกว่าร้อยละ 80 โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น

 

กลไกการเกิดโรค

โรคพาร์กินสันเกิดจากการตายของเซลล์สมองที่เรียกว่า Substantia nigra pars compacta (SNpc) สาเหตุการตายของเซลล์มีหลายทฤษฎี ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในปัจจุบัน คือทฤษฎีออกซิเดชั่น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมบางอย่าง และอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด

สารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ โดปามีน และอะซิทิลโคลีน ซึ่งอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดปามีนตายไป สมดุลดังกล่าวก็เสียไป ร่างกายจึงเกิดความผิดปกติขึ้น ปรากฏเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน

อาการของโรค

โรคพาร์กินสัน (Parkinson) ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่ อาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า

  • อาการสั่น มักเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ มีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหว หรือยื่นมือทำอะไร อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง สังเกตได้จากมือสั่นเวลาผู้ป่วยเดิน
  • อาการเกร็ง มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ปวดตามกล้ามเนื้อ
  • อาการเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม เดินช้าและงุ่มง่าม แบบสโลว์โมชั่น สังเกตได้ว่าแขนไม่แกว่ง และผู้ป่วยมักบ่นว่าแขนขาไม่มีแรง
  • อาการอื่นๆ
การวินิจฉัยโรค

โดยทั่วไปหากผู้ป่วยปรากฏอาการชัดเจน สามารถวินิจฉัยได้จากลักษณะอาการและการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด การตรวจภาพรังสีและการตรวจเลือดไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค อาจใช้เพื่อวินิจฉัยแยกโรคในบางรายเท่านั้นระยะแรกเริ่ม อาจวินิจฉัยยาก จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรคก่อนเสมอ ผู้ที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา หรือที่เรียกว่าประสาทแพทย์ (neurologist)

สิ่งที่มักเข้าใจผิด
  1. เข้าใจผิดว่าโรคพาร์กินสันรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก จริงๆแล้วการใช้ยาในโรคพาร์กินสัน มีความยุ่งยากหลายประการ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเมื่อใช้ยาไปแล้ว การตอบสนองของยาอาจจะไม่ดีเหมือนเมื่อเริ่มรักษา การปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดของยาจึงมีความสำคัญมาก และแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ในอดีตโรคนี้รักษาไม่ได้ และทำให้มีอาการเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถเคลื่อนไหวไม่ได้ ผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด จนในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อน ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันดีขึ้นมาก
  2. เข้าใจผิดว่าคนไทยไม่ค่อยเป็นโรคพาร์กินสัน สถิติอุบัติการณ์เกิดโรคนี้จะพบราว 1-5 % ในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปี
  3. ในอดีตเข้าใจผิดว่าโรคพาร์กินสัน มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นที่ในเนื้อสมองส่วนลึก
  4. อาการของโรคพาร์กินสันในระยะแรก แพทย์อาจยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่ง อาการต่างๆถึงจะปรากฏเด่นชัดขึ้น
คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด
  • ป้องกันการหกล้มโดยเลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยาง ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ ควรติดราวไว้ในห้องน้ำทางเดิน บันได
  • ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน แนะนำให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขน เมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8-10 นิ้ว
  • ช่วยให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกาย ตามสมควรและสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการต่างๆดีขึ้นและช่วยให้ผู้ป่วยไม่เกิดอาการซึมเศร้าตามมา อีกด้วย
  • ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำหน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง ทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เกิดอาการท้องผูก 3-4 วันถึงจะถ่ายอุจจาระครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยา Artane และ Cogentin ก็เป็นสาเหตุให้ท้องผูกได้
  • ผู้ป่วยในระยะท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีการที่จะลดปัญหาได้แก่ ตักอาหารพอคำแล้วเคี้ยวให้ละเอียด กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น และ ควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย
  • ผลข้างเคียงของยาเลโวโดปา ตัวอย่างเช่น Sinemet, Sinemet CR ที่สำคัญคือเวลาใช้ยาไปสักระยะหนึ่ง อาจจะต้องเพิ่มยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาได้เช่น คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ คือมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก สั่นๆ ผ้ป่วยอาจมีอาการสับสนหลังจากที่ใช้ยาระยะยาวและมีขนาดสูงจึงอาจเกิดอาการผิดปกติ โดยก่อนกินยาจะมีอาการเกร็งมาก เมื่อรับประทานยาอาการจะดีขึ้น ระยะเวลาที่ดีขึ้นจะสั้นลง สั้นลง การแก้ไขภาวะนี้ให้รับประทานยาถี่ขึ้นแต่มีขนาดยาน้อยลง

 

 

 

   


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความสุขภาพ

Leg Trimming Fantasia มหกรรมการแข่งขัน เหลาขาเรียวเร็ว เหลาเอวเพรียวไว
วิตามิน (Vitamin)
BIMXPERT วิวัฒนาการล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ไทยเกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ แพ้ภูมิตนเอง โรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
เครื่องสำอางค์ (Cosmetic)
อาหารเสริม หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับข้อมูลน่ารู้
Garcinia ข้อมูลเพิ่มเติมของ ผลิตภัณฑ์จากมังคุด
วิธีปฏิบัติเมื่อเป็นโรคกระเพาะ Gastritis
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาวะกรดไหลย้อน GERD
ลดความอ้วน : การลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักมีเคล็ดลับ 9 ข้อด้วยกัน
โรคพาร์กินสัน Parkinson – นิยาม สาเหตุ อาการและแนวทางรักษา
8 วิธีลดการแพ้ขนสุนัข
มังคุด สุดยอดผลไม้ไทย เปี่ยมคุณค่าเกินพรรณนา
BIM100 Testimonials ติดเชื้อรา และแบคทีเรีย Heals Skin Diseases and Rashes
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคตับอักเสบ
สาระน่ารู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส H1N1
ทำความเข้าใจกับโรคข้อเสื่อม
ความรู้เบื้องต้นของโรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง
ถั่วเหลือง มีความปลอดภัยหรือไม่
ระวัง! อันตรายจากแทนนิน Tannins
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ – 6 วิธีในการสู้กับอาการเจ็บปวด
ปริมาณของอาหารที่มากและการออกกำลังกายที่น้อยเกินไปเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
วิธีการที่จะเอาชนะเบาหวานได้ใน 4 ขั้นตอนง่ายๆ
การนวดสลายเซลลูไลท์ สลายไขมัน ด้วย Gold Shape, TrimOne Lotion
วิธีการป้องกันตัวจาก ไข้หวัด 2009 แบบง่ายๆ
Operation BIM GM-1 เพื่อภูมิคุ้มกันที่สมดุลจาก BIM100 ด้วยสาร GM1 จากมังคุด
ชิคุนกุนยา" คืออะไร
มหกรรมการนวดสร้างสถิติลดรอบเอวได้มากที่สุดในโลก
Video มังคุด มหัศจรรย์ราชินีผลไม้ไทย ช่วยลดความเสี่ยงโรคด้วย MyHealth
วิธีการนวดกระชับสัดส่วน
กินอยู่อย่างไรกับโรคเบาหวาน อย่างมีความสุข
มะเร็งกับธรรมชาติบำบัด
ความเครียดก็ทำให้อ้วนได้
เบาหวาน โรคที่ใครๆก็อาจเป็นได้
ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน
10 health tips
โรคตับเสื่อม หรือ ตับอักเสบ กับข้อมูลน่ารู้
โรคเอดส์
สารสกัดจากมังคุดความภูมิใจ ในภูมิปัญญาไทย
สารจากมังคุด สรรพคุณสุดวิเศษ จริงหรือ ?
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid)
"ผลส้มแขก" ต้นตำรับของทริมวันสูตรสลิมเซฟ"
กระและฝ้าปัญหาอมตะของผู้หญิง
มังคุดรักษาสิว
5 วิธีบำบัดไมเกรนด้วยตัวเอง
โรคภูมิแพ้ Allergy